หน้าแรก คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าตำบล (คพรต.)
คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าตำบล (คพรต.)
 



               คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าตำบล (คพรต.) ทำหน้าที่ในการบริหารเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในเขตพื้นที่ประกาศประเภท ก ของแต่ละพื้นที่ปกครองเขตตำบล โดยคณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.) แต่งตั้ง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

ที่มาของ คพรต.


               คพรต. แต่ละคณะมีจำนวนกรรมการตามที่ คพรฟ. กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 7 คน ประกอบด้วย

                              1. คพรต. ภาคประชาชน มีจำนวนเท่ากับจำนวนหมู่บ้านในตำบลนั้น และมีจำนวนไม่น้อยกว่าสองในสามของ คพรต. ทั้งหมด

                              2. คพรต. อื่น ๆ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้แทนสถานศึกษา ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนเครือข่ายชุมชน ผู้แทนสภาเยาวชน ผู้แทนศาสนสถาน ผู้แทนสื่อมวลชน มีจำนวนไม่เกินหนึ่งในสามของ คพรต. ทั้งหมด



อำนาจหน้าที่ของ คพรต.



               1. สำรวจความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และสำรวจผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า เพื่อใช้ประกอบการจัดทำโครงการชุมชน
               2. จัดทำแผนแม่บทพัฒนาชุมชน หรือตำบล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
               3. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดทำโครงการชุมชนเพื่อเสนอขอใช้เงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศโดยการจัดทำเวทีประชาคมตำบลหรือหมู่บ้าน
               4. พิจารณากลั่นกรองโครงการชุมชน ก่อนเสนอ คพรฟ.
               5. จัดประชุม คพรต. อย่างน้อย 3 เดือนครั้ง เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ และรายงานความก้าวหน้าทุก 3 เดือน หรือเมื่อดำเนินการโครงการชุมชนแล้วเสร็จ
               6. ส่งเสริมการให้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวข้องกับกองทุนพัฒนาไฟฟ้าแก่ประชาชนในพื้นที่ประกาศ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลกองทุนและผลการดำเนินงานแก่สื่อมวลชน ประชาชน และองค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ประกาศ
               7. รับเรื่องร้องเรียน พิจารณาแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และรายงาน คพรฟ.
               8. ดำเนินงานอื่นใด ตามที่ คพรฟ. มอบหมาย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการบริหารเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ





คุณสมบัติ ของ คพรต. ภาคประชาชน


               1. มีสัญชาติไทย
               2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์
               3. มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ หรือที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ
               4. มีชื่อในทะเบียนบ้านที่อยู่ในพื้นที่ประกาศติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่ดำเนินการสรรหา
               5. ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือผู้ช่วยผู้ดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภา เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการที่ปรึกษาพรรคการเมือง
               6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
               7. ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
               8. ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
               9. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
               10. ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
               11. ไม่เคยเป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันดำเนินการสรรหา เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
               12. ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
               13. ไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนิติกรรมสัญญาที่ทำกับกองทุนพัฒนาไฟฟ้า



คุณสมบัติของ คพรต. อื่น ๆ


               1. มีสัญชาติไทย
               2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ ยกเว้นผู้แทนกลุ่ม หรือสภาเยาวชนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์
               3. มีความรู้ ความสามารถ เพื่อการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า
               4. มีชื่อในทะเบียนบ้านที่อยู่ในพื้นที่ประกาศติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่สมัครสรรหา
               5. ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง
               6. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมือง
               7. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
               8. ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
               9. ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
               10. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
               11. ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
               12. ไม่เคยเป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันได้รับการคัดเลือก เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
               13. ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
               14. ไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนิติกรรมสัญญาที่ทำกับกองทุนพัฒนาไฟฟ้า



การดำรงตำแหน่งของ คพรต.

               
               กรรมการ คพรต. มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน

               
               กรรมการ คพรต. ที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งกรรมการ คพรต. ขึ้นใหม่

               
               เพื่อให้มี กรรมการ คพรต. ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง ให้ดำเนินการสรรหากรรมการ คพรต. ขึ้นใหม่ เป็นการล่วงหน้าก่อนที่กรรมการ คพรต. ครบวาระตามสมควร


               กรณีที่กรรมการ คพรต. พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการ คพรต. ในภาคส่วนเดียวกันของกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งแทนภายในสี่สิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง และให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการ คพรต. ซึ่งตนแทน


               กรณีที่วาระของกรรมการ คพรต. เหลืออยู่น้อยกว่าเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการ คพรต. แทนตำแหน่งที่ว่างลงก็ได้ และในการนี้ ให้ คพรต. ประกอบด้วยกรรมการ คพรต. เท่าที่เหลืออยู่



การพ้นจากตำแหน่งของ คพรต.


               1. ตาย
               2. ลาออก
               3. ย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านในพื้นที่ประกาศเกิน 90 วัน
               4. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามของการเป็นกรรมการ คพรต.
               5. ขาดการประชุม 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
               6. ประธาน คพรฟ. มีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งตามมติ คพรต. ไม่น้อยกว่าสองในสามของ คพรต. ที่เสนอให้พ้นจากตำแหน่งเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่อง ไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ



การประชุม คพรต.


               ประธาน คพรต. หรือกรรมการ คพรต. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามมีอำนาจในการเรียกประชุม


               การประชุม คพรต. ต้องมีกรรมการเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่จึงถือเป็นองค์ประชุม


               ถ้าประธาน คพรต. ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธาน คพรต. เป็นประธานในการประชุม ถ้าประธาน คพรต. และรองประธาน คพรต. ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการ คพรต. คนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในการประชุม

การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในการประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด

               การลงมติของที่ประชุมให้กระทำโดยเปิดเผย เว้นแต่เมื่อที่ประชุมเสียงข้างมากเห็นชอบให้ลงมติลับ


               เลขานุการ คพรต. มีหน้าที่ออกหนังสือเชิญประชุมตามที่ประธาน หรือกรรมการไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามมอบหมาย โดยแจ้งให้ คพรต. ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วัน และมีหน้าที่บันทึกการประชุม และส่งรายงานการประชุมให้ คพรต.


               กรรมการ คพรต. ไม่สามารถแต่งตั้ง หรือส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมแทนได้


หน้าแรก
กองทุนมาตรา 97(3)
  • ความเป็นมา
  • ประเภทของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  • กรอบการจัดสรรเงินกองทุน
  • ประเภทของการบริหารกองทุน
  • การสรรหา คพรฟ./คพรต.
  •     - ที่มาของ คพรฟ.
        - ที่มาของ คพรต.
        - ขั้นตอนการดำเนินการสรรหา
        - เวทีประชาสัมพันธ์ระดับตำบล
        - เวทีประชาคมหมู่บ้าน
        - เวทีประชุมตำบล
        - ภาพการสรรหาคณะกรรมการกองทุน
  • การสรรหาผู้แทน กองทุน ค
  • ข้อมูลกองทุนในพื้นที่
  •     - รายละเอียดของแต่ละกองทุน
    การจัดทำแผนงานประจำปี
  • การจัดทำแผนงานประจำปี ของ คพรฟ.
  •     - การจัดทำแผนงานประจำปี
        - การสำรวจความต้องการของประชาชน
        - ประเภทโครงการชุมชนที่สามารถขอเงินสนับสนุนจากกองทุน
  • การจัดทำข้อเสนอโครงการชุมชน
  •     - ขั้นตอนการจัดทำข้อเสนอโครงการ
  • การพิจารณาโครงการชุมชน
  •     - ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติโครงการชุมชน
        - แนวทางการพิจารณาแผนงาน
        - ประเด็นเพิ่มเติมที่ควรคำนึงถึง
  • ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
  •     - การจัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
  • การดำเนินโครงการชุมชน
  •     - การจัดทำสัญญารับการสนับสนุน
        - แนวปฏิบัติด้านการเงิน
        - แนวปฏิบัติสำหรับการเบิกจ่ายเงินกองทุน
        - แนวทางการเก็บเอกสารทางการเงิน
        - แนวปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้าง
  • การรับเงินและทรัพย์สิน
  •     - ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการรับเงินและทรัพย์สิน
    ผลการดำเนินงาน
  • ข้อมูลด้านการเงิน และการบริหารงบฯ
  • พื้นที่ประกาศกองทุน
  •     - หลักการกำหนดพื้นที่ประกาศ
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ก
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ข
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ค
  • คณะกรรมการกองทุน
  •     - คำสั่งแต่งตั้ง คพรฟ.
        - คำสั่งแต่งตั้ง คพรต.
        - ผู้แทน กองทุน ค
  • กรอบงบประมาณ ที่ กกพ. อนุมัติ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
        - กองทุน ประเภท ค
  • ผลการอนุมัติแผนงานฯ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
        - กองทุน ประเภท ค
  • ผลการพิจารณาแผนงานฯ อื่น ๆ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
  • ผลการพิจารณางบประมาณเหลื่อมปี
  •     - กองทุนฯ ประเภท ก
        - กองทุนฯ ประเภท ข
    คำถามที่ถามบ่อย
  • พื้นที่กองทุน สรรหา คพรฟ. คพรต.
  • เกี่ยวกับการเงิน
  • เกี่ยวกับบัญชี
  • เกี่ยวกับพัสดุ
  • เกี่ยวกับงบประมาณ
  • เกี่ยวกับการตรวจสอบภายในกองทุนฯ
  • เกี่ยวกับการเสนอแผนงานประจำปี